เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนวงการการเเพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพเเละความสะดวกสบายมากขึ้นนำมาสู่ Health Tech (เทคโนโลยีด้านสุขภาพ) นวัตกรรมการตรวจสุขภาพ รักษา เเละเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของคุณทั้งหมด
โดย Health Tech (เทคโนโลยีด้านสุขภาพ) ถูกพัฒนาเพื่อช่วยให้เรื่องสุขภาพให้เป็นเรื่องง่ายขึ้น ซึ่ง Health Teach นวัตกรรมการตรวจสุขภาพ มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ กว่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020
เพราะได้รับเงินลงทุนปีละหลายพันล้านสหรัฐจากกลุ่มทุน (Venture Capital) ทั่วโลก ส่งผลให้มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับรักษามากขึ้น เพื่อให้มีข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าระบบมีมากพอ ที่สามารถวิเคราะห์ผู้ป่วยหลายล้านคนให้เเม่นยำที่สุด
จึงเกิดการรวมตัวทั้งภาคธุรกิจเเละการเเพทย์มารวมตัวกันเพื่อสร้างนวัตกรรมขับเคลื่อนวงการการเเพทย์ครั้งใหญ่

ปัจจัยเสี่ยงของการลงทุนใน Health Tech (เทคโนโลยีด้านสุขภาพ)
ความเสี่ยงคืออุปสรรคที่ทุกธุรกิจเจอเสมอ Health Tech (เทคโนโลยีด้านสุขภาพ) ก็เช่นกัน เเต่ความยากคือข้อจำกัดในเรื่องของการเเพทย์ เเละปัญหาพื้นฐานของการทำธุรกิจ ซึ่งอุปสรรคหลักๆ มีดังนี้
1.Growth Stage (ช่วงการเติบโต)
Health Tech (เทคโนโลยีด้านสุขภาพ) คือสตาร์ทอัพสายสุขภาพ ฉะนั้นสิ่งที่สตาร์ทอัพจะต้องเจออย่างเเรกคือเรื่องของเงินลงทุน ที่ต้องใช้จำนวนมหาศาล จากกลุ่มทุน ( Venture Capital )
ซึ่งนักลงทุนมักมองถึงโอกาสการเติบโตเสมอ เเต่อุปสรรคคือ สตาร์ทอัพในช่วงเเรกคือการเพิ่มฐานลูกค้าทำให้ต้องใช้กลยุทธ์ในการดึงดูดลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการให้บริการฟรีเพื่อให้เกิดการลอง ทำให้เงินลงทุนในช่วงเเรกยังไม่ได้กำไรกลับมา
2.Outdated Regulations (กฏระเบียบที่ไม่ทันสมัย)
ถึงเเม้ในต่างประเทศจะมีการเติบโตที่สูงมาก เเต่ในประเทศไทยยังติดเรื่องข้อกฏหมายหลายข้อ เนื่องจากความไม่มั่นใจในเรื่องของผลที่วัดได้จากเทคโนโลยี Health Tech (เทคโนโลยีด้านสุขภาพ) ทำให้เทคโนโลยีนี้ยังไม่ได้เข้ามามีบทบาทในประเทศไทยมากนัก
3.Patient Risk (ความเสี่ยงของผู้ป่วย)
ความเสี่ยงของผู้ป่วย ในเรื่องของการวินิจฉัยโรค มีความสำคัญอย่างมากในการรักษาหากเกิดเรื่องผิดพลาด ก็สามารถเป็นเรื่องใหญ่ได้ทันที ความเสี่ยงนี้ทำให้การพัฒนา Health Tech ( เทคโนโลยีด้านสุขภาพ ) ยากขึ้น
4. Adoption Risk ( ความเสี่ยงเรื่องขนาดความต้องการเทคโนโลยีสุขภาพ )
ถึงเเม้จะมีสตาร์ทอัพเติบโตในไทยหลายสตาร์ทอัพเเล้วก็ตาม เเต่ในเรื่องของการเเพทย์ยังเป็นความเสี่ยงอยู่ ทำให้ยังไม่สามารถบอกได้ว่ามีปริมาณความต้องการมากน้อยเพียงใด

เทคโนโลยี Health Tech ที่น่าสนใจ
Health Tech (เทคโนโลยีด้านสุขภาพ) ยังคงถูกพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ เพราะเทคโนโลยียังเป็นสิ่งจำเป็นในวงการเเพทย์เพราะจะช่วยให้คนไข้ได้รับการบริการที่มีคุณภาพทั้งในเรื่องของการรักษาเเละการบริการ เรามาดูกันค่ะว่ามีเทคโนโลยีไหนที่น่าสนใจกันบ้าง

1. AI สเเกนม่านตาเพื่อวินิยฉัยโรคหัวใจ
เทคโนโลยี Health Tech ( เทคโนโลยีด้านสุขภาพ ) ล่าสุดของ Google ที่จับมือกับบริษัทเครือ Verily คิดค้นอัลกอริทึ่มวิเคราะห์ความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อหัวใจวายผ่านการสเเกนม่านตำได้สำเร็จ
โดยการเก็บข้อมูลผู้ป่วยกว่า 280,000 รายเพื่อเก็บเป็นข้อมูลหลักในการวิเคราะห์ จนสามารถได้ข้อมูลม่านตา เส้นเลือด ร่วมกับข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย จนสามารถได้ชุดข้อมูลที่ความเเม่นยำในการวิเคราะห์ถึง 70%
เป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ได้รับความสนใจจากวงการเเพทย์ทั่วโลก หากได้รับเงินลงทุนเเละการสนับสนุนเชื่อว่าสามารถเข้ามาช่วยการเเพทย์ได้เป็นอย่างมากในอนาคต

2. Oscar ออกเเบบประกันสุขภาพด้วยตนเอง
Oscar คือเเพลตฟอร์มที่เข้ามาช่วยให้คุณสร้างประกันสุขภาพที่เหมาะกับตัวคุณเอง ปกติเรามักเลือกประกันสุขภาพตามที่บริษัทประกันกำหนดมา เเต่ Oscar คิดต่างเพราะว่าสุขภาพเเต่ละรายมีความเสี่ยงไม่เหมือน
จึงได้สร้างเเพลตฟอร์มจัดประกันสุขภาพที่เหมาะกับสุขภาพของเเต่ละราย เเละยังสามารถจับคู่เเพทย์ให้เหมาะสมกับประกันสุขภาพของคุณอีกด้วย จึงช่วยประหยัดทั้งเงินทั้งเวลาของคุณ
ซึ่งจุดเเข็งของ Oscar คือ การใช้งานที่ง่ายเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนในปัจจุบัน Oscar มีทิศทางการเติบโตที่สูงขนาดนี้จึงสามารถระดมทุนทั่วโลกได้สูงถึง 12.5 พันล้านบาท

3 . SRP ใช้ระบบVR ช่วยในการผ่าตัด
Surgical Theater ได้สร้างเครื่องมือซ้อมผ่าตัดก่อนผ่าตัดจริง SRP (Surgical Rehearsal Platform) โดยการจำลองภาพสมองของคนไข้แบบ 3 มิติ ในการตรวจวินิจฉัยโรค และการ CT Scans (เครื่องวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์)
เพื่อลดความเสี่ยงในการทำลายเซลล์สมองส่วนที่ดี ช่วยให้แพทย์ได้ฝึกซ้อมก่อนผ่าตัดจริงจนเกิดความแม่นยำในการผ่าตัดมากขึ้น โดยในระยะเวลา 7 เดือน สามารถผ่าสมองไปเเล้วกว่า 900 ราย
เป็นนวัตกรรมที่วงการเเพทย์ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะสามารถลดอัตราการเกิดข้อผิดพลาดในการผ่าตัดลง

4. Telemedicine วินิจฉัยโรคเบื้องต้นด้วยตนเอง
ใครที่เคยไม่สบายเเล้วต้องไปต่อคิวรอพบคุณหมอเพื่อวินิจัฉัยโรค จะเข้าใจว่าต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงเเค่ไหน ละยิ่งถ้าไม่ได้เป็นอะไรมากนัก ถือว่าเป็นการเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์
เพราะจริงๆ คุณหมอวินิจฉัยโรคคุณเพียงไม่กี่นาที จึงเกิดสตาร์ทอัพวินิจัฉัยโรคเบื้องต้นโดยใช้นวัตกรรม AI (ปัญญาประดิษฐ์) ผสานกับ Telemedicine ในการวิเคราะห์ว่าคุณมีโอกาสเกิดโรคอะไรได้บ้าง
มีความเสี่ยงจนถึงกับต้องพบคุณหมอเลยหรือไม่ เเละหากพบความเสี่ยงก็สามารถ Video กับคุณหมอได้ทันที

5. Babylon Health เเอพนัดพบหมอ
Babylon Health เป็นเเอพพลิเคชั่นนัดพบคุณหมอโดยใช้ AI (ปัญญาประดิษฐ์) ในการจับคู่กับเเพทย์ที่เหมาะสมกับอาการของคุณ
อีกทั้งยังมีเเชทบอทเพื่อตอบปัญหาสุขภาพที่คุณอยากรู้ตอด 24 ชม. เเละยังมีฟีเจอร์ออกใบสั่งยาจากคุณหมอ เพิ่มความสบายให้กับตัวคุณอีก ซึ่งเเอพนี้หากคุณอยากเข้าพบเเพทย์เพื่อตรวจสุขภาพโดยละเอียด สามารถคุยผ่านโทรศัพท์หรือ Video Call ได้อีกด้วย

เทคโนโลยีการเเพทย์มีการเติบโตมากขึ้น ในไทยเองก็มีเทคโนโลยีตรวจสุขภาพเช่นกัน ด้วยเครื่อง ACCUNIQ (แอคคูนิก) เครื่องวิเคราะห์องค์ประกอบในร่างกายที่มีคลื่นความถี่ไฟฟ้า 3 คลื่นขึ้นไป
สามารถวินิจฉัยส่วนประกอบในร่างกายได้ละเอียดเช่น ไขมัน กล้ามเนื้อกระดูก น้ำ โปรตีน อายุทางชีวภาพ การเผาผลาญพลังงานในเเต่ละส่วนในร่างกายว่ามีอัตราส่วนเท่าไหร่, วิเคราะห์กล้ามเนื้อลาย/ไขมัน, วิเคราะห์ภาวะโรคอ้วนลงพุง เป็นต้น
ซึ่งมีความเเม่นยำสูง 98 – 99% ใกล้เคียงกับเครื่อง Dual energy X-ray absorptiometry : DEXA ถึง 99% เครื่อง ACCUNIQ ( แอคคูนิก ) เป็นอันดับ 1 ในเรื่องเครื่องวัดองค์ประกอบในร่างกาย โดยการใช้เทคโนโลยี Bioelectrical Impedance Analysis (BIA) ในการวิเคราะห์
ถึงเเม้ในไทยยังไม่ได้เป็นที่นิยมมากนักเกี่ยวกับ Health Tech ( เทคโนโลยีด้านสุขภาพ ) เพราะปัญหาต่างๆ ที่กล่าวดังข้างต้น
เเต่เเนวโน้มธุรกิจ Health Tech ( เทคโนโลยีด้านสุขภาพ ) ทั่วโลกกำลังถูกพัฒนาให้มีความน่าเชื่อถือมากกว่า 95% ขึ้นไปเพื่อสามารถนำมาใช้ได้กับโรงพยาบาลจริงๆ เพราะเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ป่วยเเละที่สำคัญคือเรื่องของความเเม่นยำในการตรวจมากขึ้น
การที่เทคโนโลยีการเเพทย์กำลังเติบโตบอกถึงการตระหนักการตรวจสุขภาพที่มากขึ้นของคนทั่วโลก